วงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตี เป็นหลักโดยมีเครื่องเป่าคือขลุ่ยหรือปี่ร่วมอยู่ด้วย
ใช้สำหรับเป็นเครื่องประโคมในพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงโขน – ละคร ฟ้อนรำ และมีการผสมวงตามโอกาส
ที่ใช้ทำให้จำนวนของเครื่องดนตรีมีน้อยมากแตกต่างกันไป ดังนี้
๑. วงปี่พาทย์ชาตรี
วงปี่พาทย์ชาตรี เป็นวงที่บรรเลงประกอบการแสดงโนรา หนังตลุง และละครชาตรีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
- ปี่นอก
- โทน ๑ คู่
- กลองชาตรี ๑ คู่
- ฆ้องคู่ ๑ ราง
- กรับ
- ฉิ่ง
|
๒.วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
วงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นวงที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงและประโคมทั่วไปมี ๓ ขนาด คือ
วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
- ปี่ใน,
- ระนาดเอก
- ฆ้องวงใหญ่
- ตะโพน
- กลองทัด
- ฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ปี่ใน
- ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้)
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ฆ้องวงใหญ่
- ฆ้องวงเล็ก
- ตะโพน
- กลองทัด
- ฉิ่ง
- ฉาบ,
- โหม่ง
|
|
|
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ปี่ใน,
- ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้),
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ระนาดทอง(ระนาดเอกเหล็ก)
- ระนาดทุ้มเหล็ก
- ฆ้องวงใหญ่
- ฆ้องวงเล็ก
- ตะโพน
- กลองทัด
- ฉิ่ง
- ฉาบ
- โหม่ง
๓. วงปี่พาทย์ไม้นวม
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงและขนาดเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างกันที่ วงปี่พาทย์ไม้แข็งใช้ไม้ตี
ที่ทำด้วยเชือกแล้วชุบรักเวลาตีลงบนผืนระนาดแล้วเสียงจะกร้าวแกร็ง แต่วงปี่พาทย์ไม้นวมจะใช้ไม้ระนาดที่พันด้วยผ้าและเชือก
ตีลงบนผืนระนาดแล้วมีเสียงนุ่มนวล และในวงปี่พาทย์ไม้นวมนี้ ใช้ขลุ่ยเพียงออ แทนปี่ รวมทั้งใช้ซออู้เข้ามาผสมอยู่ในวงด้วย
การบรรเลงจะมีลักษณะแตกต่างกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดยเฉพาะเสียงที่ใช้บรรเลงจะต่ำกว่าเสียงของวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ๑ เสียง
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
- ขลุ่ย
- ระนาดเอก
- ฆ้องวงใหญ่
- ซออู้
- ตะโพน
- กลองแขก
- ฉิ่ง
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ขลุ่ย
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ฆ้องวงใหญ่
- ฆ้องวงเล็ก
- ซออู้
- ตะโพน
- กลองแขก
- ฉิ่ง
- ฉาบโหม่ง
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ขลุ่ย
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ฆ้องวงใหญ่
- ฆ้องวงเล็ก
- ระนาดทอง(ระนาดเอกเหล็ก)
- ระนาดทุ้มเหล็ก
- ซออู้
- ตะโพน
- กลองแขก
- ฉิ่ง
- ฉาบ
- โหม่ง
|
๔. วงปี่พาทย์เสภา
มีเครื่องดนตรีและขนาดของวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่นำตะโพน – กลองทัดออก ใช้กลองสองหน้าแทน แต่โบราณใช้บรรเลงประกอบการขับเสภาที่เป็นเรื่องเป็นตอน มีระเบียบของการบรรเลงโดยเริ่มจาก โหมโรงเสภา และมีการขับร้องรับปี่พาทย์ด้วยเพลงพม่าห้าท่อน เพลงจระเข้หางยาว เพลงสี่บท และเพลงบุหลัน เรียงลำดับกันไป ต่อจากนั้นจะเป็นเพลงอื่นใดก็ได้ วงปี่พาทย์เสภานี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒
วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
- ปี่ใน
- ระนาดเอก
- ฆ้องวงใหญ่
- กลองสองหน้า/กลองแขก
- ฉิ่ง
|
|
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ปี่ใน,
- ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้)
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ฆ้องวงใหญ่
- ฆ้องวงเล็ก
- กลองสองหน้า / กลองแขก
- ฉิ่ง
- ฉาบ
- กรับ
- โหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ปี่ใน
- ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้)
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ระนาดทอง(ระนาดเอกเหล็ก)
- ระนาดทุ้มเหล็ก
- ฆ้องวงใหญ่
- ฆ้องวงเล็ก
- กลองสองหน้า / กลองแขก
- ฉิ่ง
- ฉาบ
- กรับ
- โหม่ง
|
|
๕. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นวงดนตรีที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวม และไม่ใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็กแหลม เช่น นำเอาฆ้องวงเล็ก และระนาดเอกเหล็ก ออกไป ใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่ และยังมีขลุ่ยอู้เพิ่มขึ้น 1 เลา ใช้กลองตะโพนแทนกลองทัด และเพิ่มซออู้ กรับพวงเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย สัญญลักษณ์ที่โดดเด่น เห็นชัดเจนสำหรับเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง ก็คือ ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้ ใช้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์เท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
- ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม)
- ระนาดทุ้ม
- ระนาดทุ้มเหล็ก
- ฆ้องวงใหญ่
- ขลุ่ยเพียงออ
- ขลุ่ยอู้
- ซออู้
- ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง
- ตะโพน
- กลองตะโพน
- กลองแขก
- ฉิ่ง
- กรับพวง
|
|
|
๖. วงปี่พาทย์นางหงส์
เป็นวงดนตรีที่ใช้ในงานอวมงคล(งานศพ) มีเครื่องดนตรีในวงเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเพียงแต่เปลี่ยนมาใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายู ๑ คู่ เข้ามาร่วมบรรเลงด้วย เครื่องดนตรีในวงบรรเลงแบ่งได้ ๓ ขนาด ดังนี้
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ปี่ชวา
- ระนาดเอก
- ฆ้องวงใหญ่
- ฆ้องวงเล็ก
- กลองมลายู
- ฉิ่ง
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ปี่ชวา
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ฆ้องวงใหญ่
- ฆ้องวงเล็ก
- กลองมลายู
- ฉาบเล็ก
- ฉิ่ง
- โหม่ง
- ฉาบใหญ่
|
|
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ปี่ชวา
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ระนาดทอง(ระนาดเอกเหล็ก)
- ระนาดทุ้มหล็ก
- ฆ้องวงใหญ่
- ฆ้องวงเล็ก
- กลองมลายู
- ฉาบเล็ก
- ฉาบใหญ่
- ฉิ่ง
- โหม่ง
- ฉาบใหญ่
|
|
๗. วงปี่พาทย์มอญ
เป็นวงดนตรีที่ชาวมอญนำเครื่องดนตรีเข้ามา พร้อมกับการย้ายถิ่นฐานบ้านเรือน ต่อมาได้มีการพัฒนา
เป็นวงปี่พาทย์มอญโดยใช้หลักการของวงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นหลัก แต่ใช้เครื่องดนตรีของมอญตั้งอยู่ด้านหน้าของวง
เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ด้านหลังจะเป็นระนาดเอก ระนาดทุ้ม และเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ
ของวงปี่พาทย์(ไทย)
เมื่อตั้งวงดนตรีแล้วจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน โอกาสที่ใช้ชาวมอญจะใช้บรรเลงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล
สำหรับชาวไทยจะใช้บรรเลงเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงของวงปี่พาทย์ แบ่งเป็น 3 ขนาด ดังนี้
|
ปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ฆ้องมอญวงใหญ่
- ระนาดเอก
- ปี่มอญ
- ตะโพนมอญ
- เปิงมางคอก
- ฉิ่ง
ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ฆ้องมอญวงใหญ่
- ฆ้องมอญวงเล็ก
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ปี่มอญ
- ตะโพนมอญ
- เปิงมางคอก
- โหม่ง ๓ ลูก
- ฉิ่ง
- ฉาบเล็ก
- ฉาบใหญ่
- กรับ
ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
- ฆ้องมอญวงใหญ่
- ฆ้องมอญวงเล็ก
- ระนาดเอก
- ระนาดทุ้ม
- ระนาดทอง(ระนาดเอกเหล็ก)
- ระนาดทุ้มเหล็ก
- ปี่มอญ
- ตะโพนมอญ
- เปิงมางคอก
- โหม่ง ๓ ลูก
- ฉิ่ง
- ฉาบเล็ก
- ฉาบใหญ่
- กรับ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น